Submitted by Sataporn.B on Mon, 05/15/2023 - 10:40
การจัดการองค์ความรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดในชุมชนท้องถิ่นเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Issue

Abstract

Abstract

บทคัดย่อ 
  

       งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการองค์ความรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดของชุมชนเกาะเกร็ด ตําบล เกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีระยะเวลาการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงกันยายน พ.ศ. 2562 มี ประชากรคือชาวชุมชนเกาะเกร็ดหมู่ 1 และ 7 ปากเกร็ด นนทบุรี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวบ้านผู้ให้ข้อมูล หลักและนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 40 คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การสืบค้นข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ปัญหาของชุมชนคือ การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาด เนื่องจากมะหาด ได้ลดจํานวนลงและอาจสูญพันธุ์ไปได้ในอนาคต จึงส่งผลให้ชาวบ้านจัดการอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดด้วยการจัด
กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ให้นักท่องเที่ยวเดินชมการสาธิตการผลิตสบู่และสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม รวม ทั้งเพื่อศึกษาสภาพและปัญหา กระบวนการเครื่องมือ และปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ สมุนไพรมะหาดในชุมชน
       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่ 1 มีความรู้เน้นหนักในด้านการผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม มีเป้า หมายเพื่อใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ การดูแลสุขภาพผิวพรรณแบบพึ่งตนเอง การพัฒนากลุ่ม เป็นแหล่งเรียนรู้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชาวบ้านทั้งภายใน และภายนอกชุมชน ปัญหาที่พบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือการรวบรวมจัดเก็บความรู้ที่เป็นระบบเพื่อสืบทอดให้ ลูกหลาน การสนับสนุนจากหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ ได้แก่ การวิเคราะห์ความ ต้องการความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ การรวบรวมจัดเก็บความรู้ การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ การ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ผู้นํากลุ่ม การมีส่วนร่วม ความกระตือรือร้น การเปิดใจ วัฒนธรรม ภายในชุมชน เครือข่ายสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ และการได้รับการยกย่องให้รางวัล ผลจากการท่องเที่ยวที่มีต่อ ผู้คนในสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
       การจัดการองค์ความรู้โดยการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์มะหาดเชิงสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้การอนุรักษ์สมุนไพรมะหาดซึ่งกันและกัน ช่วยให้ชาวบ้านตระหนักในคุณค่าของชุมชน และยังช่วยให้นักท่องเที่ยวได้พัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ประสบการณ์ที่ได้จากการ เรียนรู้สามารถนําไปใช้ในชีวิตได้ ชาวบ้านจะมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่ 1 สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม

Abstract

       The purpose of this research was to study the management of knowledge of conservation of Mahad herb (Lakoocha) in Koh Kred community, Pak Kred district, Nonthaburi province. This research began from August 2019 to July 2020. The population was the villagers in Koh Kred community Moo 1 and 7 Pak Kred, Nonthaburi. The group of sample was 40 villagers who gave the important information and tourists who participated in the activity. It was qualitative research by document analysis, interview and participative observation the conservation of herb was the problem of community. The villagers also found that Mahad herb will reduce and disappear in the future. As a result, they decided to organize the conservation of Lakoocha herb by making herbal soap and herb for health and beauty as its main conservative and creative activity. In Herbee herbal house, the tourists will walk around hours and see the demonstration of making herbal soap and herb for health and beauty. Moreover, the purposes were three subjects: to study the state and problems of knowledge management of conservation of herb, to examine process and tools and to study the supporting factors concerning knowledge management
       It was found that herbal group of Kho Kred Moo 1 had knowledge focusing on the transformation of organic herbal product, aiming at using knowledge for career advancement, self-health maintenance, group development and all cycle learning. Furthermore, it is the center of knowledge, distributing, transferring and exchange for internal and external community. The treats and problems of knowledge sharing: lacking systematic knowledge collecting and support. The knowledge management process was compounded of analysis knowledge need, knowledge creation and acquisition, knowledge embodiment, knowledge distribution and transfer, knowledge utilization based on supporting factors such as group leader, participation, enthusiasm, open-minded, internal community culture, network, support and reward and the effect of tourism towards villagers, economy, and environment in the community.
       Mahad creative conservation is a new direction of conservation in nowadays. The purpose of natural and creative conservation is to exchange and learn the Mahad conservation of each other. This helps people to aware of their community values. This also helps tourists to develop their potential and creativity by participating in activity of conserving by doing. Thus, this experience can be adapted to naturists themselves way of life. Moreover, they have conserving corporation. The villagers created Herbal Group Moo 1 in order to get the profession and gain their salary.

Attachment

23 Views.