Submitted by Sataporn.B on Mon, 05/15/2023 - 10:43
การใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพในการอุนรักษ์มวนแมลงดาหายากชนิด Lethocerus patruelis (Hemiptera: Belostomatidae) จากปัจจัยมลภาวะทางแสงระดับท้องถิ่น

Issue

Abstract

Abstract

       ปัจจุบันการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) กําลังเป็นที่นิยมเพื่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ในการศึกษานี้ได้นําวิธี Distance to nearest neighbor มาใช้กับมวนแมลงดานา Lethocerus patruelis (Stal, 1855) ซึ่งหายาก และกําลังถูกคุกคามด้วยมลภาวะทางแสง จนอาจเกิดการสูญพันธุ์ในระดับท้องถิ่นได้ จากการสํารวจ ในไทยระหว่างปี 2561-2563 พบ L. patruelis เพียง 2 จุดศึกษา คือใน จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพบ ว่า ถิ่นที่อยู่อาศัยของ L. patruelis ที่เชียงรายจะอยู่ใกล้กับมลภาวะแสงมากกว่า ในขณะที่พื้นที่ศึกษาของสุราษฎร์ธานี มีปริมาณของแหล่งมลภาวะแสงระดับท้องถิ่นที่มากกว่า จากผลการศึกษาเบื้องต้นนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะบ่งชี้ภาวะ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ L. patruelis ได้

Abstract

       The use of spatial data from geographic information system (GIS) becomes popular for environmental study and conservation. This study conducted a GIS method; distance to nearest neighbor with a rare water bug species, Lethocerus patruelis (Stål, 1855), which is a threatened species due to the light pollution that may cause their local extinction. Based on our survey in Thailand during 2018–2020, L. patruelis was found in only 2 provinces, i.e., Chiang Rai and Surat Thani. The habitat of L. patruelis in Chiang Rai is closer to the light pollution sources than that in Surat Thani, whereas the quantification of light pollution sources in Surat Thani is greater than that in Chiang Rai. This preliminary study shows the possibility to identify the risk of species extinction from our method.

Attachment

23 Views.